หัวข้อที่ 1.เรื่องประวัติบิดากฎหมายไทยและบิดาการพยาบาลไทย

หัวข้อที่ 1.เรื่องประวัติบิดากฎหมายไทยและบิดาการพยาบาลไทย

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 พระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทย
จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชสมภพ 1 มกราคม พ.ศ. 2435 - สวรรคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472) เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประชาชนโดยทั่วไปมักคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์"หรือ"พระราชบิดา"และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ"และ"พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"
เมื่อปี พ.ศ. 2460 สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น พระองค์ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา 2 คน คือ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และนางอุบล ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา(ลิปิธรรม ศรีพยัตต์)
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง 2 ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ และมีรับสั่งเตือนสติเสมอว่า
เงินที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2464 สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข ดังนั้นพระองค์พร้อมพระชายาจึงเสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์ก สก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับ มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย ถึงแม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม

การเสด็จสหราชอาณาจักรครั้งนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ให้จบ แต่เนื่องจากมีอุปสรรค ได้ประชวรด้วยโรคของพระวักกะ (ระบบปอด) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นพระบรมราชชนกจึงต้องเสด็จนิวัติกลับพระนคร เพราะมีพระราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรป เพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ และพระองค์ก็ได้เสด็จกลับเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2471
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้ทรงอุทิศพระองค์ ทรงมีพระเมตตาปราณีต่อพสกนิกรของพระองค์ ทรงพระตระหนัก เป็นอย่างยิ่งว่า สุขภาพของคนไทยเป็นเรื่องสำคัญและต้องการได้รับการแก้ไข ทรงเล็งเห็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างดี และทรงมีพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหาเหล่านั้น
 พระองค์ได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อทรงทำนุบำรุงโรงเรียนราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราชให้ทันสมัยทัดเทียมกับอารยประเทศ โดย ส่งแพทย์ พยาบาล ไปศึกษาต่อต่างประเทศ
 สร้างอาคารเรียนกับหอพักผู้ป่วยบริเวณโรงพยาบาลศริราช
ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ให้มาช่วยเหลือการแพทย์ของไทยเป็นการวางรากฐานให้การแพทย์ของไทยเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศในปัจจุบัน
ทรงวางโครงการพัฒนาวิชาการพยาบาลไว้อย่างครบถ้วน ที่วชิรพยาบาลทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติ การแพทย์ พ.ศ. 2466 โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้องและความขัดแย้งต่าง ๆ จนลุล่วงไปด้วยดี ทำให้กฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ประกาศใช้ได้
สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ยังได้ทรงส่งเสริม เรื่อง "สงเคราะห์มารดาและทารก" พระองค์รับสั่งเสมอว่าเมืองไทยยังต้องการอบรมมารดาให้รู้จักการเลี้ยงดูเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้อาหารเด็ก เนื่องจากในสมัยนั้นอัตราตายของทารกต่ำกว่า 1 ขวบมีสูงมาก ทรงวางโครงการดัดแปลง วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลคลอดบุตรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเป็นศูนย์อบรมศึกษาพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และหมอตำแย เพื่อจะได้มีผู้ทำงานด้านสงเคราะห์มารดาและทารกเพิ่มขึ้น
ทรงพระราชทานน้ำดื่มน้ำใช้ให้แก่ชาวบ้าน เช่น ด้วยการสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อให้ราษฎรได้มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดไว้อุปโภคและบริโภค ที่โรงพยาบาลศิริราช ทรงขอร้องให้กระทรวงมหาดไทยวางท่อประปาข้ามแม่น้ำส่งมาโรงพยาบาล
สมเด็จฯพระบรมราชชนกทรงปฏิบัติหน้าที่ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ถึงแม้ว่าพระวรกายและพระอนามัยของพระองค์ไม่แข็งแรง โรคตับอักเสบและกลายเป็นหนองร่วมด้วย ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 24 กันยายน 2472 ณ วังสระปทุม รวมพระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ 3 เดือนครึ่ง
 “อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ก็ไม่อดตาย

ถ้าใครอยากร่ำรวย ก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์

อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่นในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ”
ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน     เป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์       เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ        จะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมมะแห่งอาชีพ   ไว้ให้บริสุทธิ์”
พระอนุศาส์นของสมเด็จพระบรมราชชนก



Comments

Popular posts from this blog

หัวข้อที่ 4 หลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล มีดังนี้

หัวข้อที่ 7.เรื่องพรบวิชาชีพ

หัวข้อที่ 5.เรื่องข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมทางการพยาบาล + การสอบสวน